4 เทคนิค เดาคำศัพท์ ในข้อสอบ
top of page
Writer's pictureTUTORRUS

4 เทคนิค เดาคำศัพท์ ในข้อสอบ

Updated: Aug 22, 2020


เคยเป็นกันไหมคะ...เวลาที่ทำข้อสอบแล้ว ไม่รู้คำศัพท์ ท่องศัพท์ เท่าไรก็จำได้ไม่หมดสักที

Blog นี้ พี่แน๊ต TUTORRUS จะมารวมเทคนิคการ เดา Vocab ในข้อสอบ มาฝากทุก ๆ คนกัน

  • เทคนิคนี้ ใช้ได้กับการสอบภาษาอังกฤษทุกแบบเลยนะคะ ทั้งสอบวัดความรู้ทั่วไปที่โรงเรียน, ONET, GAT, TU-GET, CU-TEP, TOEFL, IELTS, SAT, etc.


ถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยเทคนิค เดาศัพท์ ข้อที่ 1 เลยค่ะ


ดูเครื่องหมาย , : : - ( ) ไว้ให้ดี ๆ

เครื่องหมายพวกนี้ จะช่วยบ่งบอกได้ว่า คำ, ประโยค, วลีที่ตามมาด้านหลัง อาจจะช่วยขยายคำศัพท์ที่เราไม่รู้อยู่ก็เป็นได้

อย่างกรณีตัวอย่างข้างต้น เจอ Comma เมื่อไร รู้ได้ทันทีว่ากำลังขยายคำศัพท์ยาก ๆ ที่เราอาจะไม่รู้ เช่นคำว่า Plaudits อยู่นั่นเอง ดังนั้น Clapping and cheering เลยกลายเป็นความหมายของคำศัพท์นี้นั่นเอง (ไม่ต้องเสียเวลาท่องเลยค่ะ)


เทคนิคที่ 2 ในการเดาคำศัพท์ในห้องสอบ


การกล่าวซ้ำ มักจะเป็นสิ่งที่พบบ่อย ๆ ในข้อสอบ

บางทีคำศัพท์ที่เราไม่รู้นั้น สามารถเดาจากบริบท หรือ Clue โดยรอบได้ จะช่วยให้เดาได้ง่ายขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น Keyword คำว่า and, or, called, which, that บางทีอาจจะกำลังขยายคำที่เราไม่รู้อยู่ หรืออาจจะช่วยทำให้เราเดาคำศัพท์ง่ายขึ้น ว่าคำที่รายล้อม Vocab ที่เราไม่รู้นั้น น่าจะอยู่ในหมวดหรือประเภทไหน

*แก้ไข other


เทคนิคข้อที่ 3

Keyword ต้องมาอีกแล้วค่า

หลาย ๆ ครั้งที่สอนน้อง ๆ ในคลาสไป เกือบทุกวิชาที่สอนว่าเราจะสามารถทำข้อสอบได้เร็ว ดี และถูกใจกรรมการมากขึ้นได้นั้น ต้องมี Keyword


ในกรณีการเดาคำศัพท์ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน Keyword จะช่วยได้มาก ๆ

อย่างกรณีนี้ เป็น Keyword ตรงกันข้ามตัวอย่าง เช่น However, instead of, unlike, in contrast to, while, although, even if, etc. พวกนี้จะช่วยให้เดาได้ว่า คำศัพท์อังกฤษที่เรากำลังหาอยู่นั้น ตรงข้ามกับประโยคที่กล่าวมาใน Keyword ตรงข้ามเหล่านี้


เทคนิคที่ 4 เดาศัพท์ได้ไม่ยาก


หนีไม่พ้น Keyword อีกเช่นกัน แต่คราวนี้เป็นแบบยกตัวอย่าง

บางทีคำศัพท์ที่เราไม่รู้นั้น อาจเป็นคำศัพท์เฉพาะ หรือศัพท์ยากสำหรับบางคน การที่เราสังเกตว่ามี Keyword จำพวกการยกตัวอย่างประกอบหรือไม่นั้น จะช่วยให้ขยายความคำศัพท์ที่เราไม่รู้ได้ดียิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น For example, For instance, such as, like, i.e., e.g., etc.

อย่างตัวอย่างด้านบน เห็นแค่ตัวอย่างที่หยิบมา ไม่ว่าจะเป็น Ketchup = ซอสมะเขือเทศ, มัสตาร์ด หรือ มายองเนส ก็พอจะรู้ได้แล้วว่าเป็นเครื่องปรุงรส ดังนั้นคำศัพท์ Condiment ก็เดาความหมายได้ไม่ยากแล้วค่ะ


สรุปรวม 4 เทคนิคในการเดาศัพท์ หวังว่าจะช่วยให้ทุกคน ทำข้อสอบได้มั่นใจมากขึ้นนะคะ

ใครอยากได้เทคนิคดี ๆ แบบนี้เพิ่มอีก

เรามีแจกอีกเพียบเลยในคอร์สเรียน

รวมถึงคลิปวิดีโอรีวิวต่าง ๆ คลิก>> Youtube และ Instagram, Facebook ค่ะ กดติดตามกันไว้ได้เลย



10,546 views
bottom of page