หลายคนคงเคยรู้จักกับการสอบ TU-GET แบบทั่วไปมาเป็นอย่างดี ว่าเป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ ของผู้ที่ต้องการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ทั้งปริญญาตรี/ โท/ เอก ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้สำหรับการสอบเพื่อยื่นคะแนนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือต้องการทดสอบระดับความรู้ภาษาอังกฤษของตัวเอง
แต่พอได้ยินคำว่า "TU-GET CBT" ก็สงสัยขึ้นมาทันทีว่า TU-GET CBT คืออะไร?
ดูรีวิวการสอบและเทคนิค
Blog นี้ TUTORUS เลยจะมารีวิวข้อสอบ TU-GET CBT ให้ทุกคนเข้าใจกันว่า ข้อสอบแบบนี้เป็นอย่างไร และเทียบกันให้เห็น ๆ ว่าข้อสอบแบบ CBT ต่างจาก TU-GET PBT ปกติอย่างไรบ้าง...ถ้าพร้อมแล้ว มาลุยในแต่ละส่วนกันเลย
รีวิว 8 หัวข้อ ในการสอบ TU-GET CBT พร้อมเทคนิคในการทำข้อสอบ (ท้าย Blog)
1. วิธีการทำข้อสอบ
TU-GET (PBT) หรือ Paper-Based Test เป็นการสอบกับกระดาษคำตอบโดยปกติทั่วไปอย่างที่เรารู้จักกัน แต่...
TU-GET (CBT) หรือ Computer-Based Test เป็นการทำข้อสอบกับ "คอมพิวเตอร์" ใช่ค่ะ! ลืมไปเลยว่าเคยทำกับกระดาษ เพราะเราจะต้องอ่านคำถามจาก Screen ใช้เมาส์ ใช้คีย์บอร์ด ในการทำข้อสอบ!!
2. ข้อสอบ TU-GET CBT เป็นอย่างไร?
TU-GET PBT โดยปกติ จะมี 3 Parts ด้วยกัน ดังนี้
Structure 25 ข้อ (250 คะแนน)
Vocabulary 25 ข้อ (250 คะแนน)
Reading 50 ข้อ (500 คะแนน)
รวมคะแนนทั้งสิ้น 1,000 คะแนน
TU-GET CBT มีทั้งหมด 4 Parts ดังนี้
Reading 40 ข้อ (30 คะแนน)
Listening 40 ข้อ (30 คะแนน)
Speaking 1 ข้อ (30 คะแนน)
Writing 1 ข้อ (30 คะแนน)
รวมคะแนนทั้งสิ้น 120 คะแนน
3. ทำไม TU-GET CBT กับ PBT ข้อสอบต่างกัน?
ข้อสอบแบบ CBT เป็นข้อสอบแบบเทียบเคียง TOEFL iBT ดังนั้นรูปแบบข้อสอบจึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ข้อสอบ CBT ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าสอบ สามารถนำคะแนนที่ได้ไปวัดผลกับการสอบ TOEFL สำหรับประเมินทักษะความรู้ภาษาอังกฤษของตนเอง
4. TU GET CBT กับ TU GET PBT สอบแบบไหนยากกว่ากัน?
ในส่วนนี้ บอกได้เลยว่าขึ้นกับความถนัดของแต่ละคนค่ะ เพราะข้อสอบ จะมีมาตรฐานการวัดคะแนนกันคนละแบบ
ซึ่งหลังจากที่ทางทีม TUTORRUS ของเราได้ไปทำการสอบมา เพื่ออัพเดทแนวข้อสอบสำหรับการติว TU-GET ของทางสถาบัน พวกเราได้ลงความเห็นกันว่า ชอบการสอบแบบ CBT มากกว่า เพราะรู้สึกสนุก ไม่ง่วงนอน 5555 เนื่องจากมีหลายพาร์ทให้ทำ และสามารถควบคุมเวลาได้ด้วยตัวเอง
เอาเป็นว่า สอบทั้ง 2 แบบเลยค่ะ ถ้าคณะรับทั้ง 2 แบบ จะได้รู้ว่าเราถนัดแบบไหน และยื่นคะแนนที่ดีที่สุดในการสมัครสอบ
5. การสอบ TU GET CBT ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง?
ไม่ต้องเตรียมอะไรไปเลยค่ะ นอกจากบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต นอกนั้นอุปกรณ์การสอบเค้ามีแจกให้หมดแล้ว
Extra ที่มีมาให้ผู้เข้าสอบ คือ กระดาษ A4 1 แผ่น และดินสอไม้เหลาแหลม ๆ ไว้ให้เรานั่นเอง (เอาออกจากห้องสอบไม่ได้นะคะ สอบเสร็จแล้ววางคืนไว้ที่เดิมได้เลยค่า)
6. การสมัครสอบ
การสมัครสอบ CBT และ PBT ไม่แตกต่างกัน สามารถสมัครทางออนไลน์ได้ทั้ง 2 แบบเลย ง่ายมาก ๆ
แต่!! สิ่งที่ต้องระวังคือ PBT จะเปิดรับสมัครทุกวันที่ 1-15 ของเดือน
ในขณะที่ CBT จะเปิดรับสมัครทุกวันที่ 16-30 หรือ 31 ของทุกเดือน
สมัครสอบให้ทันกันนะคะ ไม่เช่นนั้นแล้ว ค่าสมัครสอบ จะแพงขึ้น! และต้องไปสมัครสอบด้วยตัวเองที่ อาคารสถาบันภาษา มธ. ท่าพระจันทร์
7. ราคาค่าสอบ
TU-GET CBT ค่าสอบ 1,500 บาท
TU-GET PBT ค่าสอบ 800 บาท
อย่างที่เตือนไว้ตอนแรก ว่าทั้ง 2 แบบนี้ เปิดรับสมัครในช่วงวันที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นหากเราสมัครไม่ทัน ราคาจะขึ้น จาก 1,500 เป็น 1,800 บาท และจาก 800 ก็จะขึ้นเป็น 1,000 บาท คลิกดูข้อมูลอัปเดต ค่าสอบ TU-GET
8. เวลาในการสอบ TU-GET CBT
เวลาในการทำข้อสอบ คือส่วนที่อันตรายมากในการทำข้อสอบ เราต้องคอยดูเวลาให้ดีว่าแต่ละพาร์ทเหลือกี่นาที จะไม่มีเจ้าหน้าที่มาบอกเรา (ตัวใครตัวมันนะคะ)
พาร์ทไหนทำเสร็จเร็ว ก็ข้ามไปได้เลย แต่...ไม่ใช่ว่าทำ Reading เสร็จเร็ว แล้วเวลาที่เหลือของ Reading จะนำมาทบใน Part ถัด ๆ ไปได้
นั่นหมายความว่า เวลาทุกนาทีในการทำข้อสอบแต่ละ Part มีค่า ไม่สามารถทบได้ ใช้ทุกนาที คิดให้ดีก่อน (ช้าแต่ชัวร์ดีกว่าค่ะ)
9. สารพัดปัญหาที่เจอในการทำข้อสอบ TU GET CBT
เราจะนำมาสรุปให้ดูใน Blog ถัดไป เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเจอระหว่างการสอบได้ อย่าลืมติดตามกันนะคะ
สรุปเทคนิคการสอบ TU-GET CBT มีอะไรบ้าง?
เนื่องจากเป็นการสอบกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นทุกคนจะไม่มีสิทธิ์ข้ามไปดูโจทย์ข้ออื่นได้ก่อนนะคะ ดังนั้น มีสติ รอบคอบ คิดให้ดีก่อนที่จะกด เพราะเราไม่สามารถกดมาแก้คำตอบได้เช่นกัน
การสอบแบบ CBT จะมีนาฬิกาจับเวลาขึ้นบน Screen เลย ดังนั้น รับผิดชอบตัวเอง คอยเช็คเวลาและ Balance การทำข้อสอบให้ดี ๆ
ถ้ากดส่งข้อสอบ/ Upload ไฟล์ข้อมูลในพาร์ท Speaking และ Writing ไม่ทัน ทำอย่างไร...คำตอบคือ ทำอะไรไม่ได้ เพราะคะแนนในพาร์ทนั้นจะเหลือ 0 ทันทีค่ะ
เวลาในแต่ละ Part ไม่ได้ Fix เสร็จก่อนก็สามารถทำส่วนถัดไปได้ทันที ไม่ต้องรอเวลานะคะ
ฝึกซ้อมใช้คอมพิวเตอร์ให้ถนัด เพราะจะมีพาร์ทที่ต้องกดคำตอบ และพิมพ์ Essay Writing (เขียนส่งไม่ได้นะคะ) ดังนั้น พิมพ์ช้า ก็มีโอกาสส่งข้อสอบไม่ทันเช่นเดียวกัน
กระดาษ A4 และดินสอไม้เหลาแหลม ๆ ที่เค้าเตรียมมาให้ ใช้ให้เป็นประโยชน์! จด Keyword จดคำตอบที่เราเตรียมไว้ให้ดี จะได้ไม่พลาดคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย
ไม่ต้องกดดันตัวเอง คนอื่นที่ทำเร็วกว่า ลุกกลับบ้านก่อนตั้งแต่ชั่วโมงแรกก็มี แต่ก็ปล่อยไปค่ะ โฟกัสกับตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อคะแนนเต็ม 120 ของเรา :)
เป็นอย่างไรกับบ้างคะ สำหรับรีวิวการสอบ TU-GET (CBT) แค่เตรียมตัวให้พร้อม ฝึกทำแบบฝึกหัด และจับเทคนิคให้ได้ ก็จะช่วยให้ได้คะแนนดีอย่างแน่นอน :)
สำหรับใครที่สอบ TU-GET แบบ PBT ไม่ผ่านซักที หรือคะแนนสอบยังไม่ถูกใจ ลองมาสอบแบบ CBT กันดูนะคะ ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบติดให้กับเราอย่างแน่นอน
อยากเตรียมตัวให้แม่น เพิ่มโอกาสสอบติดในโค้งสุดท้าย กับ TUTORRUS ในคอร์ส TU-GET (CBT) รวมเก็งข้อสอบใหม่ล่าสุด พร้อมเทคนิคเพียบ! ติวครบทุก Part กวาดคะแนนเต็ม 120 ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
สอนโดยติวเตอร์เกียรตินิยมอันดับ 1 จากจุฬาฯและปริญญาโทจาก Imperial College London มหา'ลัย Top 3 ของ UK และ Top 8 ของโลก
ประสบการณ์สอนกว่า 11 ปี เน้นเทคนิคเด็ด สำหรับทำข้อสอบ
รีวิวนักเรียนสอบผ่านเพียบ!
บทความที่เกี่ยวข้อง
Comments