คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะที่ขึ้นชื่อเรื่องชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือที่มีมาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่า ถ้าใครอยากเข้ารัฐศาสตร์ "ธรรมศาสตร์" เป็นมหา'ลัย อันดับต้น ๆ ด้านนี้ที่ทุกคนอยากเข้าเรียนต่อแน่นอน ซึ่งในปัจจุบัน รัฐศาสตร์ มธ. แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ภาษาไทย (หรือที่เรียกว่า ภาคปกติ) และ หลักสูตรนานาชาติ (หรือที่เรียกว่า BIR)โดยทั้ง 2 หลักสูตรนี้ต้องสอบเขียนเรียงความเหมือนกัน แต่ในบทความนี้ พี่แน๊ต TUTORRUS จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกข้อสอบจริงรัฐศาสตร์ มธ. ภาคไทย ทั้ง 3 สาขากัน คือ สาขาการเมืองการปกครอง สาขาการระหว่างประเทศ และสาขาบริหารรัฐกิจ ค่ะ
ดังนั้น เตรียมจดกันไว้เลย TUTORRUS จะพาทุกคนมารู้จักกับข้อสอบเรียงความรัฐศาสตร์ เปิดตัวอย่างข้อสอบจริง และเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการเตรียมตัวสอบกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
สอบเข้ารัฐศาสตร์ มธ. ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
หลักสูตรภาษาไทย
วิชาความถนัดเฉพาะทางรัฐศาสตร์ 100 ข้อ
เรียงความ 1-2 ข้อ โดยแต่ละสาขาข้อสอบจะออกแตกต่างกันไป
สอบสัมภาษณ์
หลักสูตรนานาชาติ (BIR)
การสอบข้อกา (Multiple Choice) 50 ข้อ โดยแบ่งเป็น อ่าน Reading 25 ข้อ และความรู้ทั่วไปอีก 25 ข้อ
การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (Written Exam) 1 ข้อ
สอบสัมภาษณ์ (Interview)
ดังนั้นการสอบตรงจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะคะแนนทุกอย่างที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะเป็นเกณฑ์ตัดสินการเข้าศึกษาต่อของน้อง ๆ จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมล่วงหน้าก่อนสอบจริง
รีวิวสอบติดรัฐศาตร์ มธ. บอกตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัว ไปจนถึงรีวิวข้อสอบส่วนอื่น ๆ
ข้อสอบเรียงความรัฐศาสตร์ มธ.
หลังจากที่เข้าใจเกณฑ์การสอบแล้ว พี่แน๊ตจะมาทุกคนมาดูข้อสอบจริง โดยจะเปิดหัวข้อเรียงความรัฐศาสตร์ จากข้อสอบจริงปีล่าสุด ให้ดูกัน! เรามาทำความเข้าใจข้อสอบส่วนนี้ และมาดูไปพร้อม ๆ กันว่าแต่ละสาขาถามอะไรและมีความต่างกันอย่างไรบ้าง
การเขียนเรียงความรัฐศาสตร์ คือการนำความรู้ความคิดเห็น มาเรียบเรียงให้กลายเป็นเรื่องราว โดยการสอบเขียนเรียงความรัฐศาสตร์นั้น อยู่ในเกณฑ์การคัดเลือกของทั้ง 2 หลักสูตร (ภาคไทย และภาคอินเตอร์) ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคณะ และสาขาที่สมัคร
รวมข้อสอบเก่า เรียงความรัฐศาสตร์ 3 สาขา
สาขาการเมืองการปกครอง
-ระบอบประชาธิปไตยแบบอเสรีนิยมคืออะไร และประเทศไทยในทุกวันนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
-นักคิดทางรัฐศาสตร์ กล่าวว่า “การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบจำเป็น แต่การเลือกตั้งก็ไม่เพียงพอที่จะเป็นประชาธิปไตยของประเทศ ๆ หนึ่ง” ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อความดังกล่าว พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
สาขาบริหารรัฐกิจ
-จากการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหาระบบการศึกษา นักเรียนคิดว่าปัญหาคืออะไร และอยากปฏิรูปอย่างไรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
- หลักการสำคัญที่ทำให้การบริหารงานภาครัฐ หรือภาคสาธารณะมีความแตกต่างจากการบริหารงานในภาคธุรกิจเอกชนได้แก่ “หลักผลประโยชน์สาธารณะ” (public interest) ขอให้อธิบายว่า หลักการดังกล่าวคืออะไร และมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับการขับเคลื่อนงานของภาครัฐ
สาขาการระหว่างประเทศ
-ท่านคิดว่าสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครนส่งผลกระทบต่อการเมืองโลก และประเทศไทยอย่างไร จงอภิปราย
-จากปัญหาฝุ่นควันที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ท่านคิดว่าประเทศไทยควรมีมาตราการทางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างไร เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว
เทคนิคเตรียมสอบรัฐศาสตร์
3 เทคนิคการเขียนเรียงความรัฐศาสตร์ให้คะแนนปังจาก TUTORRUS
1. ตีโจทย์ให้แตก
สิ่งนี้สำคัญมาก เพราะว่าหลาย ๆ คนทำข้อสอบไม่ได้เนื่องจากตีโจทย์ผิดและไม่เข้าใจสิ่งที่โจทย์ถามตั้งแต่แรก ดังนั้นคำแนะนำคือควรดูให้ดีว่าโจทย์ถามถึงอะไร อะไรคือคำถามใหญ่ และมีคำถามย่อยถามซ้อนอยู่ในนั้นด้วยหรือเปล่า
2. ร่างคำตอบ
ก่อนที่ลงมือทำ เราควรที่จะร่างคำตอบ (Planning) ก่อนเขียน ว่าอะไรคือคำตอบของเรา และเราจะอธิบายคำตอบนั้นอย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราเขียนคำตอบได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังไม่หลงหรือลืมคำตอบระหว่างทางอีกด้วย
3. เริ่มเขียนคำตอบ
สุดท้ายนี้ เราควรนำคำตอบที่ร่างไว้มาเขียนโดยยึด Pattern ของการเขียนเรียงความ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน
บทนำ (Introduction)
เนื้อหา (Body Paragraph)
สรุป (Conclusion)
ยิ่งไปกว่านั้น อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราควรเขียนเพิ่ม คือสิ่งที่ทำให้เรียงความของเราโดดเด่น และแตกต่างจากผู้สมัครสอบท่านอื่น เช่น Keyword รัฐศาสตร์ ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เรียงความหรือ Essay ของเราน่าอ่านและได้คะแนนสูงมากขึ้นเช่นกัน
Kommentare