top of page
Writer's pictureTUTORRUS

PGS CU VS BIR TU เหมือน/ต่างกันยังไง? เรียนที่ไหนดี?

Updated: Aug 27


อัปเดต เกณฑ์รอบ Portfolio รัฐศาสตร์ อินเตอร์ ธรรมศาสตร์ (BIR), bir tu ค่าเทอม, bir tu ย่อมาจาก, bir tu ใช้คะแนนอะไรบ้าง, bir tu เรียนที่ไหน, bir tu เรียนอะไร, รัฐศาสตร์ อินเตอร์ มธ 66, รัฐศาสตร์ อินเตอร์ มธ ใช้อะไรบ้าง, รัฐศาสตร์ อินเตอร์ มธ ค่าเทอม, bir tu, bir thammsat, bir, รัฐศาสตร์ มธ., รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์ อินเตอร์, รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อินเตอร์, bmir, bir สอบ, เรียน bir, ติว bir, สอบ bir, ข้อสอบ bir, bir essay, bir interview, bir admission, bir portfolio, bir round 1, bir round 2, bir ข้อสอบ, แนวข้อสอบ bir, bir สอบสัมภาษณ์, ติว bir, เรียนพิเศษ bir, แนะนำ bir, สอบติด bir, ทำพอร์ต, พอร์ต bir, เกณฑ์ bir, รอบพอร์ต, รอบข้อเขียน bir, pgs chula, pgs cu, สอบ pgs, ติว pgs, pgs interview, pgs requirement, pgs admission, pgs round 1, pgs round 2, pgs early admission, pgs program, study pgs, รัฐศาสตร์​ จุฬา, รัฐศาสตร์​ จุฬา อินเตอร์, รัฐศาสตร์​ จุฬา นานาชาติ, รัฐศาสตร์​ จุฬา ir, สาขาวิชาการเมืองและการต่างประเทศ, The Bachelor of Political Science Program in Politics and International Relations, สาขาวิชาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา, Politics and Global Studies, pgs ค่าเทอม, เรียน pgs, เรียนพิเศษ pgs, pgs ติวสอบ, สัมภาษณ์ pgs, แนวข้อสอบ pgs, exam pgs, past exam pgs, bir and pgs

ถ้าพูดถึงคณะรัฐศาสตร์ที่เป็นหลักสูตรนานาชาติที่กำลังมาแรงขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้นคณะของ 2 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ คือ PGS CU คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ BIR TU คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้ว่าจะเป็นคณะรัฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ เหมือนกัน แต่บอกเลยว่าทั้ง 2 คณะนี้มีความแตกต่างกันในหลายด้านมาก ๆ ดั้งนั้นบทความนี้ทาง TUTORRUS ได้ทำเปรียบเทียบข้อมูลของทั้ง 2 สถาบัน ระหว่าง PGS CU และ BIR TU เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังสนใจทั้งคณะนี้ หากน้อง ๆ ยังลังเลอยู่ว่าเรียนที่ไหนดี ต้องรีบไปดูเลย จะได้ตัดสินใจถูกว่าคณะไหนเหมาะกับเราที่สุด!!


 

ทำความรู้จักกับ PGS CU และ BIR TU

PGS CU เป็นหนึ่งในสาขาของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นคณะรัฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย PGS CU ย่อมาจาก Politics and Global Studies หรือมีชื่อไทยว่า “สาขาวิชาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา” หลักสูตรนานาชาติ ที่เพิ่งเปิดเมื่อปี 2557 น้อง ๆ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PGS CU ได้ที่นี่เลยนะคะ

ส่วน BIR TU ย่อมาจาก The Bachelor of Political Science Program in Politics and International Relations มีชื่อไทยว่า “สาขาวิชาการเมืองและการต่างประเทศ” หรือรู้จักกันในชื่อว่า รัฐศาสตร์ มธ. ภาคอินเตอร์ BIR TU เป็นหลักสูตรแรกของไทยที่มีการสอนรัฐศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ เดิมทีมีชื่อเดิมว่า BMIR TU เป็นหลักสูตรเรียนควบปริญญาตรีและโท ต่อมาทางมหา’ลัยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเป็น BIR TU ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรีที่น้อง ๆ คุ้นเคยกันในปัจจุบันนั่นเอง น้องสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BIR TU ได้ที่นี่


ความแตกต่างของหลักสูตร PGS CU vs BIR TU

ตามที่บอกไปข้างต้นว่า PGS CU และ BIR TU เป็นคณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ แน่นอนว่าน้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ได้แก่ การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการบริหารรัฐกิจ เหมือนรัฐศาตร์ภาคปกติ ซึ่งทั้ง PGS CU และ BIR TU จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ความแตกต่างที่รวบรวมมาให้นั้น มีด้วยกันถึง 4 ข้อเลยทีเดียว เรามาเทียบให้เห็นกันทีละข้อกันดีกว่าค่ะ


1. หลักสูตรและระยะเวลา

หลักสูตร PGS CU จะเรียนที่จุฬาฯ 2 ปี และที่ University of Essex , UK หรือ University of Queensland, Australia อีก 2 ปี ส่วน BIR TU จะมี option ให้น้อง ๆ เลือก คือ เรียนที่ธรรมศาสตร์ตลอดหลักสูตร 4 ปี หรือ เรียนที่ธรรมศาสตร์ 2 ปี และที่ Meiji University 2 ปี


2. จำนวนปริญญา

PGS CU จะเป็นคณะที่ได้ Double degree หรือ ปริญญา 2 ใบ เพราะอย่างที่บอกไปข้างต้นว่า จะได้เรียนทั้งที่ไทย 2 ปี และต่างประเทศอีก 2 ปี ฉะนั้นน้อง ๆ จะได้ปริญญา 2 ใบ จากการไปเรียน 2 มหาวิทยาลัยตามหลักสูตรนั่นเองค่ะ ในขณะที่ BIR TU หากน้อง ๆ เลือกเรียนที่ธรรมศาสตร์ตลอดหลักสูตร 4 ปี จะได้วุฒิจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยตรง แต่ถ้าเลือกเรียนที่ธรรมศาสตร์ 2 ปี และ Meiji University 2 ปี น้อง ๆ จะได้ปริญญา 2 ใบเหมือนกับหลักสูตร Double degree ของ PGS CU ค่ะ




3. สถานที่เรียน

น้อง ๆ ทุกคนรู้อยู่แล้วว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลายศูนย์เรียนมาก ๆ โดยคณะรัฐศาสตร์ภาคปกติ เรียนที่ศูนย์รังสิต แต่ BIR TU เรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ตลอดหลักสูตร ขอบอกว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ เพราะ เต็มไปด้วยเรื่องราวของการเมืองไทยนับตั้งแต่ยุคที่เข้าสู่ประชาธิปไตย บรรยากาศดีวิวสวยมาก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เดินทางสะดวกด้วย MRT อีกทั้งยังรายล้อมไปด้วยร้านอาหารอร่อยอีกเพียบ ส่วน PGS CU จะเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เดียวกับภาคไทย  ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองเช่นกัน มีห้างดัง ๆ รายล้อมมากมาย เช่น สามย่านมิตรทาวน์ จามจุรีสแควร์ สยามพารากอน สยามสแควร์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังเดินทางสะดวกเพราะติดกับรถไฟฟ้า MRT และ BTS


4. การสอบเข้า PGS CU vs BIR TU

สำหรับเกณฑ์การสอบเข้า PGS CU และ BIR TU จะคล้ายกันมาก ๆ โดยคุณสมบัติเบื้องต้นคือที่น้อง ๆ จะต้องมีคือ คะแนนภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL, IELTS หรือคะแนนภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ เช่น SAT แต่สิ่งที่แตกต่างกันออกไปคือรอบที่เปิดรับจะไม่เท่ากัน PGS CU เปิดรับสมัครด้วยกันทั้งหมด 2 รอบ คือ Early Admission และ Admission ทั้ง 2 รอบนี้จะใช้แค่คะแนนสอบที่พี่บอกไปข้างต้น และการสอบสัมภาษณ์ ไม่มีการใช้ผลงาน Portfolio ในขณะที่ BIR TU มีทั้งหมด 3 รอบ คือ Inter Portfolio 1 ใช้คะแนนสอบและการสัมภาณ์เหมือนกับรอบ Early Admission ของ PGS CU, Inter Portfolio 2 เป็นรอบที่ใช้ Portfolio และ Inter Program Admission รอบนี้น้อง ๆ จะต้องสอบ Written exam ภาษาอังกฤษ หัวข้อตามที่คณะกำหนดมาด้วยค่ะ



สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจ BIR TU ดูเกณฑ์และเงื่อนไขรอบต่าง ๆ ได้ที่ข้างล่างนี้เลยนะคะ


ส่วนน้อง ๆ ที่สนใจ PGS CU ดูเกณฑ์และเงื่อนไขแต่ละรอบได้ที่นี่เลยค่ะ



สรุป

สำหรับคณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ของทั้ง 2 มหา’ลัย ไม่ว่าจะเป็น PGS CU หรือ BIR TU ถือเป็นคณะของมหาวิทยาลัยระดับ Top ของประเทศทั้งคู่ แน่นอนว่าน้อง ๆ จะได้ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในอนาคตได้แน่นอน เพราะคุณภาพหลักสูตรของทั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ไม่น้อยหน้ากันเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เก่งมาก ๆ ในการสอนด้านรัฐศาสตร์ น้อง ๆ จะได้รู้ลึก รู้จริงแน่นอน เอาเป็นว่า ลองยื่นไว้ทั้งสองมหา’ลัยไม่เสียหายเลยค่ะ ทั้ง PGS CU และ BIR TU น่าสนใจไม่แพ้กันเลย




ติวรัฐศาสตร์ ต้อง TUTORRUS พร้อมสอบ PGS CU - BIR TU 

การันตีด้วยรีวิวมากมาย สถิติสอบติดยกคลาสทุกปี!

ประสบการณ์สอนมากกว่า 10 ปี

อัปเดต เกณฑ์รอบ Portfolio รัฐศาสตร์ อินเตอร์ ธรรมศาสตร์ (BIR), bir tu ค่าเทอม, bir tu ย่อมาจาก, bir tu ใช้คะแนนอะไรบ้าง, bir tu เรียนที่ไหน, bir tu เรียนอะไร, รัฐศาสตร์ อินเตอร์ มธ 66, รัฐศาสตร์ อินเตอร์ มธ ใช้อะไรบ้าง, รัฐศาสตร์ อินเตอร์ มธ ค่าเทอม, bir tu, bir thammsat, bir, รัฐศาสตร์ มธ., รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์ อินเตอร์, รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อินเตอร์, bmir, bir สอบ, เรียน bir, ติว bir, สอบ bir, ข้อสอบ bir, bir essay, bir interview, bir admission, bir portfolio, bir round 1, bir round 2, bir ข้อสอบ, แนวข้อสอบ bir, bir สอบสัมภาษณ์, ติว bir, เรียนพิเศษ bir, แนะนำ bir, สอบติด bir, ทำพอร์ต, พอร์ต bir, เกณฑ์ bir, รอบพอร์ต, รอบข้อเขียน bir, pgs chula, pgs cu, สอบ pgs, ติว pgs, pgs interview, pgs requirement, pgs admission, pgs round 1, pgs round 2, pgs early admission, pgs program, study pgs, รัฐศาสตร์​ จุฬา, รัฐศาสตร์​ จุฬา อินเตอร์, รัฐศาสตร์​ จุฬา นานาชาติ, รัฐศาสตร์​ จุฬา ir, สาขาวิชาการเมืองและการต่างประเทศ, The Bachelor of Political Science Program in Politics and International Relations, สาขาวิชาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา, Politics and Global Studies, pgs ค่าเทอม, เรียน pgs, เรียนพิเศษ pgs, pgs ติวสอบ, สัมภาษณ์ pgs, แนวข้อสอบ pgs, exam pgs, past exam pgs, bir and pgs


บทความที่เกี่ยวข้อง

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page