"นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ" แค่ได้ยินชื่อก็รับรู้ถึงความดัง ความปัง เพราะมีคนอยากเข้าที่นี่กันเยอะมากกกกก ซึ่งน้อง ๆ คนไหนที่อยากติดรอบแรก ๆ ของนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ก็ห้ามพลาดบทความนี้เลยค่ะ เพราะบทความนี้ TUTORRUS จะพาน้อง ๆ ไปดูเกณฑ์คะแนนรอบ Portfolio ของ 5 สาขายอดฮิตในคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งภาคไทย และภาคอินเตอร์ กันค่ะ
ว่ามีสัดส่วนคะแนนอะไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ ได้เตรียมตัวให้ดีก่อนใคร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย...
สาขาการออกแบบและผลิตสื่อ
น้อง ๆ คนไหนที่อยากเป็นผู้ควบคุมการผลิต ผู้เขียนบท ผู้กำกับ ผู้ออกแบบงานศิลป์ในสื่อวิดีโอ ถ่ายวิดีโอ ตัดต่อ ทำกราฟิกในสื่อเคลื่อนไหว ทำแอนิเมชัน ควบคุมเสียง ประพันธ์เพลง พี่แนะนำสาขาการออกแบบและผลิตสื่อเลยค่ะ ซึ่งสาขาการออกแบบและผลิตสื่อมีเกณฑ์การให้คะแนนแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ตามด้านล่างนี้เลย
ผลงานการออกแบบและผลิตสื่อประเภทสื่อเสียง (Audio media) หรือสื่อเคลื่อนไหวที่มีภาพและเสียง (Audio-visual media) ตามโจทย์ที่คณะกำหนดในแต่ละปี (30 คะแนน)
ผลงานการออกแบบและผลิตสื่อประเภทสื่อเสียง (Audio media) หรือสื่อเคลื่อนไหวที่มีภาพและเสียง (Audio-visual media ในรอบ 5 ปี จำนวน 3 ผลงาน (30 คะแนน)
รางวัลที่ได้รับจากผลงานการผลิตสื่อประเภท Audio media หรือ Audio-visual media ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ คิดเป็น (30 คะแนน)
กิจกรรมสะท้อนภาวะผู้นำหรือจิตอาสา (10 คะแนน)
สาขาวาทนิเทศ
สาขาวาทนิเทศเหมาะกับน้อง ๆ ที่ชอบด้านการสื่อสารในเรื่องของการพูด ไม่ว่าจะเป็นการโต้วาที พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ ผู้ประกาศ หรือการจัดรายการ เสียงตามสาย รวมถึงการเป็นผู้เจรจา ประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่ม ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ของสาขาวาทนิเทศ ประกอบไปด้วย
ผลงานที่แสดงถึงความสามารถในฐานะสื่อบุคคล (40 คะแนน)
ผลงานที่ได้รับรางวัลหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องซึ่งแสดง ความสามารถในฐานะสื่อบุคคล ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (10 คะแนน)
ผลงานแสดงความสามารถด้านสื่อบุคคล เช่น การประกวดสุนทรพจน์ การประกวดวาทนิพนธ์ เรียงความ การโต้วาที การประกวดบุคลิกภาพ การเป็นพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ ผู้ประกาศ หรือการจัดรายการ (40 คะแนน)
กิจกรรมสะท้อนภาวะผู้นำหรือจิตอาสา (10 คะแนน)
*จะพิจารณาจากข้อ 3 เป็นลำดับแรก หากคะแนนผลงานแสดงความสามารถด้านสื่อบุคคลต่ำกว่า 32 คะแนน จะถูกปัดตกทันที พาร์ทอื่น ๆ ก็จะไม่ได้รับการตรวจต่อค่า
อยากติดรอบ Portfolioห้ามพลาด ! รวมเทคนิคทำพอร์ตโฟลิโอ ให้สอบติดอย่างมั่นใจ คลิกเลย
สาขาสื่อสารการแสดง
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจอยากเรียนรู้ด้านการออกแบบองค์ประกอบทางศิลปะในการแสดง หรือมีความฝันอยากจะเป็นนักแสดง นักเขียนบท การกำกับการแสดง สาขาการสื่อสารการแสดงตอบโจทย์น้อง ๆ มากเลยค่ะ และสาขานี้มีเกณฑ์การให้คะแนนแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ตามด้านล่างนี้เลยค่า
ผลงานการสร้างสรรค์การแสดงต้นฉบับตามโจทย์ที่กำหนดในแต่ละปี (30 คะแนน)
ผลงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดงการเป็นนักแสดงการเขียนบท ด้านการออกแบบองค์ประกอบทางศิลปะ ในการแสดง การกำกับการแสดงและการแสดงร่วมสมัยต่าง ๆ ที่สะสมมาในระยะเวลา 5 ปี (50 คะแนน)
ผลงานที่ได้รับรางวัลหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงหรือศิลปะการแสดงร่วมสมัยต่าง ๆ (10 คะแนน)
กิจกรรมที่สะท้อนภาวะการเป็นผู้นำและผู้มีจิตสาธารณะ (10 คะแนน)
สาขาศิลปะภาพยนตร์
สาขานี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่อยากทำงานด้านการผลิตภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว อยากเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมดิจิตัล หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งสาขานี้มีเกณฑ์การให้คะแนนแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพียง 3 ข้อ คือ
ผลงานด้านการผลิตภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว ตามที่โจทย์กำหนดในแต่ละปี (50 คะแนน)
ผลงานด้านการผลิตภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวในรอบ 5 ปี 3 ผลงาน (40 คะแนน)
ผลงานด้านการผลิตภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวที่ได้รับรางวัล ในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ (10 คะแนน)
สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร หลักสูตรนานาชาติ (Bachelor of Communication Management, BCM CU)
สาขานี้เหมาะมาก ๆ กับน้อง ๆ ที่อยากเรียนนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หลักสูตรอินเตอร์ เพราะนอกจากจะได้เรียนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตรแล้ว ยังโดดเด่นมาก ๆ ในเรื่องของหลักสูตร ที่รวมเอาทั้งเรื่องของการสื่อสาร และการบริหารไว้ด้วยกันในหลักสูตรเดียว น้อง ๆ จะได้รับความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ กับ ความรู้ในการบริหาร เพื่อจัดการสื่อ และการสื่อสารต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถต่อยอดไปทำงานด้านการตลาด Branding ควบคุมภาพลักษณ์การสื่อสารต่างๆ อีกด้วย เรียกได้ว่า ครบทั้งด้านความรู้ในองค์รวม และการบริหารจัดการ
โดย BCM CU รอบพอร์ต หรือที่มักจะรู้จักกันและเรียกติดปากกันในชื่อ Comm Arts CU (คอมอาท จุฬาฯ) จะแบ่งสัดส่วนคะแนนในการรับรอบพอร์ตโฟลิโอ เป็น 4 ส่วน ดังนี้
ดังนั้นใครที่อยากเข้ารอบ Port Comm Arts CU (BCM CU) นอกจากจะต้องเตรียมคะแนนให้ดีแล้ว ยังต้องทำ E-Portfolio Comm Arts ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ E-Portfolio และ Creative Work ซึ่งบอกเลยว่าสำคัญมาก ๆ คะแนนจะตัดสินกันที่ 2 ส่วนนี้ถึง 20% ฉะนั้นต้องทำให้ดี ๆ เลยค่ะ อย่าง Creative Work โดยปกติแล้วจะเป็นการทำ VDO เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ตามหัวข้อที่กำหนด ฉะนั้น น้อง ๆ จะต้องตีความโจทย์ให้ดี และทำวิดีโอออกมาให้น่าสนใจและสอดคล้องกับจุดประสงค์ของโจทย์ด้วยนะ
และอีก 20% สุดท้าย ที่มีผลไม่แพ้กันเลยคือ Interview Comm Arts CU ที่เหมือนจะง่าย แต่ไม่ง่ายเลย เพราะอย่างที่รู้กันว่า นิเทศ จุฬาฯ ภาคอินเตอร์ การแข่งขันสูงมากกก ไม่แพ้ภาพไทยเลยหละ ฉะนั้นแต่ละคนก็จะเตรียมความพร้อมมาอย่างดี ในการทำ Port, Creative work และ Interview หากน้อง ๆ เตรียมตัวมาดี 40% นี้จะช่วยเปลี่ยนชีวิตเลย เพราะเป็นสัดส่วนที่เยอะมาก ที่จะช่วยให้น้อง ๆ มีโอกาสสอบติด Comm Arts CU (BCM CU) ตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ
เจาะลึกตัวอย่าง Portfolio ของรุ่นพี่ที่สอบติด ตรวจ Portfolio และ SOP พร้อมให้คำแนะนำรายบุคคล
ทำพอร์ตแบบไหนให้ถูกใจกรรมการ?
ฉีกกฎการทำพอร์ตโฟลิโอแบบเดิม ๆ ให้โดดเด่นด้วยเทคนิคเฉพาะที่ TUTORRUS
เตรียมตัวติดรอบ PORTFOLIO ก่อนใคร
บทความที่เกี่ยวข้อง
Comments