top of page
Writer's pictureTUTORRUS

แจกเก็ง 5 ข้อสอบเด็ด ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน

Updated: Jan 14, 2022


เตรียมปากกา กระดาษมาจดให้พร้อม พี่แน๊ต TUTORRUS เก็ง 5 ประเด็นที่น่าออกข้อสอบไว้ให้แล้ว มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ ไปดูกัน...

(ออกสอบ #รัฐศาสตร์ #รัฐศาสตร์มธ #BIR #BALAC #BAS #BEC #BSI #BJM #PBIC #9สามัญสังคม ฯลฯ ได้หมดเลย)



****เวลาออกสอบต้องจำอะไร?

ก่อนจะไปเก็งข้อสอบ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเวลาอ่านข่าว ต้องโฟกัสอะไรบ้าง

หลายเวลาอ่านข่าว หรือเห็นข้อมูลที่เป็นชื่อเฉพาะต่าง ๆ เยอะ ๆ แล้วท้อ งงไปหมดว่าจะต้องท่องอะไรบ้าง


คำตอบคือ ขึ้นกับประเภทข้อสอบที่สอบ!

หากเป็นการสอบแนว #สังคมศึกษา เช่น สอบที่โรงเรียน #9วิชาสามัญ #รัฐศาสตร์ ในลักษณะข้อกา

ข้อมูลเฉพาะ จำเป็นต้องจำ เพราะข้อสอบสังคมศึกษา วัดความเข้าใจ การอัปเดตข่าว และการจดจำในระดับนึง ดังนั้น เวลาอ่านข่าวเก็บเพื่อทำสอบ จำเป็นที่ต้องรู้ข้อมูลเฉพาะด้วย (คือลึกประมาณนึง ไม่สามารถอ่านข้อมูลกว้าง ๆ ได้อย่างเดียว)


ยกตัวอย่างเช่น จากหัวข้อที่เก็งข้อสอบ เรื่องที่ 1: พอเห็นข้อมูลเรื่อง WHO หรือ ชื่อวัคซีนทั้ง 8 หลายคนอ่านคงสงสัยแล้วว่าต้องท่องชื่อรุ่นมั้ย? ก็ไม่ถึงกับต้องท่องชื่อขนาดนั้น เพราะมันลึกเกิน แต่ควรดูผ่านตา เผื่อช่วยในการตัดช้อยส์ได้ (แต่ถ้าใครจำได้ ก็ดีนะคะ)


หากสอบเป็นข้อสอบวิเคราะห์ เช่น นำไปสอบภาคอินเตอร์คณะต่าง ๆ ไม่ต้องจำลึกถึง Detail ว่ามีอะไรบ้าง เพราะข้อสอบเข้าภาคอินเตอร์ เน้นเรื่องการใช้ภาษา การสื่อสาร ยกตัวอย่างประกอบ แต่ไม่ต้องลึกซึ้งมาก แค่แสดงความรู้พอสังเขป ดังนั้นการอ่านให้เข้าใจ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญค่ะ


คงพอได้แนวในการอ่านกันแล้วนะคะ จับโฟกัสให้ถูกในการเตรียมตัวสอบ ซึ่งเวลาที่พี่แน๊ตเก็งข้อสอบให้น้อง ๆ ก็จะทำในลักษณะเดียวกัน แยกตามคณะ/ สาขา ที่น้อง ๆ สอบเข้า เพื่อให้ได้แนวข้อสอบที่ตรง และนำไปเก็งเนื้อหาแบบเจาะลึกต่อให้ตามแนวข้อสอบค่ะ :) ถ้าพร้อมแล้วแล้วไปดูกันต่อเลย...


สรุป 5 ประเด็นข่าวออกสอบชัวร์!


(ตัวอย่างดังกล่าว คัดบางส่วนมาจากคอร์สติวสอบเข้าคณะต่าง ๆ และ Pol05 โค้งสุดท้ายตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์ มี.ค. น้อง ๆ ที่ลงคอร์สเรียนมา ไม่ต้องห่วงว่าจะพลาดค่ะ มีสรุป Version เต็ม ต่อให้แน่นอน)


1. วัคซีน

แน่นอนว่าเรื่องที่เป็นกระแสในตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้ คงหนีไม่พ้น COVID-19 ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจ เป็นเรื่องของ "วัคซีน"


ตัวละครหลักที่ทุกคนต้องควรรู้ในประเด็นคือ "องค์การอนามัยโลกหรือ WHO" เป็นองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


ดังนั้น WHO จึงเป็นตัวละครหลักที่มีบทบาทมากในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งวัคซีนที่ผ่านการอนุมัติขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ปัจจุบัน มี 8 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธ.ค. 64) ได้แก่


1. วัคซีน mRNA-1273 ของ Moderna

2. วัคซีน BNT162b2 (Comirnaty) ของ Pfizer–BioNTech

3. วัคซีน Janssen Ad26.COV2.S ของ Johnson & Johnson

4. วัคซีน AZD1222 ของ Oxford / AstraZeneca

5. วัคซีน Covishield ของ Serum Institute of India (ใช้สูตรของ Oxford / AstraZeneca)

6. วัคซีน Covaxin ของ Bharat Biotech

7. วัคซีน BBIBP-CorV (Vero Cells) ของ Sinopharm (Beijing)

8. วัคซีน CoronaVac ของ Sinovac


2. ไทย-อาเซียน

  • ไทย เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ปี 2565 (APEC 2022) เพื่อสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

  • อเปคเป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (โดยไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเองด้วย) ประกอบไปด้วยด้วยเขตเศรษฐกิจชั้นนำถึง 21 เขตเศรษฐกิจ มีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก

  • หัวข้อหลักของการประชุมเอเปคปี 2565 คือ “Open. Connect. Balance.” (เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล)

ในขณะเดียวกัน ทางไทย และ อาเซียน ได้ร่วมมือกันในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2034


3. จีน-ลาว


ปัจจุบันจีนและลาว ได้มีการร่วมมือกัน ในการสร้างรถไฟจีน-ลาว ซึ่งเชื่อมต่อกับทางเหนือประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟจีนลาวที่อยู่ในส่วนของฝั่งจีน ซึ่งจะเชื่อมต่อการเดินทางไปยังลาวผ่านเมืองบ่อเต็นปลายทางนครหลวงเวียงจันทน์


สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่จีน-ลาว ร่วมมือกัน แต่คือ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ ส่งผลอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามองอย่างมาก ห้ามพลาดเลยค่ะถ้าจะไปสอบต่อ


4. โครงการของรัฐบาลไทย


นโยบายและโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลไทยในช่วงโควิท-19 มีเยอะมาก มีอะไรที่พวกเราควรรู้จักกันบ้าง พี่แน๊ตไล่สรุปที่น่าสนใจมาให้แล้ว ลองมาดูกันค่ะ


- มาตราการเยียวยา โครงการ เราชนะ

แบ่งการช่วยเหลือ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)

  2. กลุ่ม คนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน

  3. กลุ่มผู้ที่ต้องลงทะเบียนใหม่

- มาตรการจ่ายเงินเยียวยา ประกันสังคม มาตรา 33 “เรารักกัน”

- 4 โครงการ "ลดภาระประชาชน​ -​ กระตุ้นการใช้จ่าย‼

  1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรั

  2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

  3. โครงการคนละครึ่ง

  4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้


5. การประชุม COP26


อีกหนึ่งการประชุมที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสต่อสังคมโลกอย่างมาก (ออกสอบแน่ ๆ ไฮไลท์ดอกจัน 18 ล้านดอกกันไว้เลยค่ะ) คือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) โดย COP ย่อมาจาก "Conference of the Parties"

COP26 จัดการประชุมที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ สาระสำคัญที่สามารถบรรลุข้อตกลงในการประชุมครั้งนี้ได้ คือ

  • การควบคุมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการผลักดันให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

  • มุ่งเน้นให้คงเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

  • ในการประชุมครั้งนี้ 200 ประเทศมีพันธสัญญาที่จะต้องยื่นแผนการลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2030

เช่นเดียวกันว่าเรื่อง COP26 เป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า การร่วมมือของนานาประเทศ ส่งผลอะไรต่อไป ใครเป็นชาติที่มีบทบาท และจะเกิดอะไรต่อภาวะโลกร้อนของโลกเราต่อไป....


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เก็ง 5 ข้อสอบที่น่าออกสอบมาให้แล้ว มีเรื่องไหนที่น้อง ๆ รู้กันบ้างมั้ยคะ ถ้าใครพอรู้รายละเอียดมาบ้างแล้ว ถือว่ามาถูกทางกันแล้วค่ะ จำประเด็นสำคัญพวกนี้ไว้ดี ๆ นะคะ

ใครที่อยากเจาะแนวข้อสอบเพิ่มเติม วิเคราะห์แนวข้อสอบไปด้วยกัน สามารถปรึกษามาได้ทาง https://lin.ee/2mg6Oiu นะคะ ขอให้น้อง ๆ สอบติดตามที่ตั้งใจไว้ทุกคณะเลย โชคดีค่า แล้วพบกันในคอร์สเรียนค่ะ :)

รัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์มธ ธรรมศาสตร์ สอบตรง วิชาเฉพาะรัฐศาสตร์ สอบตรงรัฐศาสตร์

Comentarios


bottom of page