top of page
Writer's pictureTUTORRUS

BJM TU คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? จบแล้วทำอาชีพอะไรได้?

Updated: Jun 28


bjm tu เรียนที่ไหน, bjm tu ค่าเทอม, bjm tu รับสมัคร, bjm tu ใช้คะแนนอะไรบ้าง, BJM TU คือ, bjm tu ประกาศผล, bjm tu รอบ2, B.J.M. tu Portfolio, bjm admission, bjm essay, สอบ bjm, ติว bjm, เรียน bjm, bjm requirement, bjm portfolio, bjm interview, สัมภาษณ์ bjm, ติว bjm, รีวิว bjm, bjm round 1, bjm round 2, bjm thammasat, bjm มธ, วารสาร ธรรมศาสตร์, วารสาร มธ, วารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์, วารสารศาสตร์ มธ

BJM TU หนึ่งในคณะยอดนิยมมากที่สุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะน้อง ๆ ที่สนใจหลักสูตรนานาชาติ และมีแนวโน้มที่ความนิยมจะเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ดังนั้นบทความนี้ TUTORRUS จะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักกับ BJM TU ตั้งแต่ข้อมูลทั่วไป จนถึงไปถึงการเตรียมตัวสอบเข้า ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว เรามาทำความรู้จักกับ BJM TU กัน!!


 

BJM TU คืออะไร?

อันดับแรกทำความรู้จักกันก่อนว่า BJM ย่อมาจาก Bachelor of Arts Programs in Journalism (Media Studies) หรือมีชื่อไทยว่า “หลักสูตรวารสารบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศึกษา” เป็นหลักสูตรนานาชาติของ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังถูกเรียกว่าเป็น คณะวารศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อีกด้วยนะคะ



BJM TU เรียนอะไร?

BJM TU จะไม่มีการเลือกเรียนแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับสาขาวิชาแขนงอื่น ๆ เพราะมีแค่สาขาเดียว คือ สาขาวิชาสื่อศึกษา แต่น้อง ๆ จะได้เรียนแบบครอบคลุมในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับสื่อ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ น้อง ๆ จะได้เรียนตั้งแต่การผลิต การออกแบบ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือเกี่ยวกับวิทยุและโทรทัศน์ เช่น การเขียนบท การเขียนข่าว ฯลฯ รวมถึงเรียนการบริหารการตลาด เรียกได้ว่าให้ความรู้ทั้งในเชิงการผลิตและการบริหารสื่อ ที่ BJM TU จะเน้นไปที่ภาคปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ น้อง ๆ จะได้เรียนทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลังของวงการสื่อ


เรียนที่ BJM TU น้อง ๆ จะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาโดยตรง เพราะนอกจากจะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนแล้ว น้อง ๆ จะได้เรียนกับอาจารย์มากประสบการณ์ แอบกระซิบนิดนึงว่าบางท่านเป็นคนที่มีสื่อเสียงโด่งดังในวงการสื่อมวลชนเลยนะคะ เรียกได้ว่า เด็ก BJM TU นอกจากจะได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญแล้ว ยังได้เรียนกับการอาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานในวงการสื่อสารมวลชนอีกด้วย อย่างเช่น วิชา Speech Communication เรียนเกี่ยวกับทักษะการพูดในที่สาธารณะหรือหน้ามวลชน ซึ่งจะได้เรียนกับ อาจารย์ เอ๋ พัชรี รักษาวงศ์ พิธีกรโทรทัศน์ MC และผู้ประกาศชื่อดังมาก ๆ คนหนึ่งของประเทศไทย


นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาที่มีแขกรับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ของวงการสื่อสารมวลชนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ อีกทั้งยังมีรายวิชาที่น่าสนใจอย่าง Radio and TV Production ที่น้อง ๆ จะได้เข้าไปศึกษาการทำงานการผลิตรายการวิทยุและที่สถานีโทรทัศน์ในสถานที่จริง ทำให้ได้เรียนรู้กระบวนการการทำงานด้านสื่อมวลชนจากผู้ที่มีประสบการณ์จริง





BJM TU ต่างจาก ภาคไทย ยังไง?

อย่างที่น้อง ๆ รู้กันดีอยู่แล้ว่า BJM TU เป็นหลักสูตรนานาชาติ การเรียนการสอนจึงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ต่างจากภาคไทยที่สอนเป็นภาษาไทย และเรื่องการเลือกสาขาวิชาเอก ภาคไทยจะมี 6 เอกให้ได้เลือกเรียนตามแขนงต่าง ๆ ที่น้อง ๆ สนใจ ในขณะที่ BJM TU จะมีเพียงแค่สาขาวิชาเอกเดียว แต่ตลอด 4 ปีที่น้อง ๆ ได้เรียนนั้นมีการสอนที่ครอบคลุมทุกด้านของวงการสื่อสารมวลชน คือ น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนได้ตามที่ตัวเองต้องการ เช่น หากน้อง ๆ สนใจในด้านนักข่าว สามารถลงเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องได้ หรือถ้าใครอยากเปลี่ยนใจไปด้านการตลาด ก็สามารถเลือกเรียนในรายวิชาที่น้อง ๆ สนใจได้เลยนะคะ



จบ BJM TU ทำงานอะไรได้บ้าง?

แม้ว่า BJM TU จะถูกเรียกว่าเป็นคณะวารสารศาสตร์ ที่สอนเกี่ยวกับพวกสื่อต่าง ๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากสื่อให้ได้มากที่สุด แต่ BJM TU ยังมีชื่อเสียงว่าเป็นคณะที่ผลิตนักข่าวที่มีคุณภาพออกมามากที่สุดเช่นกัน เพราะศิษย์เก่าที่จบจากคณะนี้ส่วนมากมักจะประกอบอาชีพเกี่ยวกับด้านสายข่าว ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เช่น นักเขียนบทของผู้ประกาศข่าว นักข่าว คอลัมนิสต์ ฯลฯ แต่จริง ๆ แล้วยังมีสายงานอาชีพอีกมากมายที่รองรับสำหรับคนที่จบจาก BJM TU ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร หนัง หรือด้านการตลาด ด้านการประชาสัมพันธ์ ผู้จัดการงานอีเวนท์ หรืออยากจะทำงานในองค์ภาครัฐที่เกี่ยวกับการจัดการด้านสื่อ ๆ สามารทำได้เหมือนกัน ดังนั้น TUTORRUS จึงได้รวบรวมอาชีพที่เรียนจบจาก BJM TU แล้วสามารถทำได้ ทั้งตรงสายและไม่ตรงสาย ดูข้างล่างนี้ได้เลยนะคะ


  • นักเขียนบทละคร / หนัง

  • นักประชาสัมพันธ์

  • Creative

  • นักวารสารศาสตร์

  • บรรณาธิการ

  • กองบรรณาธิการ

  • นักสื่อสารการตลาด

  • นักสื่อสารมวลชน

  • นักหนังสือพิมพ์

  • นักวิทยุและโทรทัศน์

  • นักโฆษณา

  • นักสื่อสารองค์กร

  • Copywriter 

  • Content Writer

  • Content Creator


หาก ๆ น้องอยากรู้เพิ่มเติมว่าถ้าจบจากสายนิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ สามารถทำงานอะไรได้บ้าง ดูได้ที่นี่เลยค่ะ นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ จบไปทำงานอะไรได้


อยากเข้า BJM TU ต้องทำยังไง?

จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รวบรวมมาให้น้อง ๆ บอกเลยว่า BJM TU เป็นอีกหนึ่งสาขาที่น่าเรียนมาก ๆ ของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ธรรมศาสตร์ ทั้งการเรียนที่หลากหลาย รวมถึงมีอาชีพรองรับหลังเรียนจบอีกมากมาย ดังนั้นน้อง ๆ คนไหนที่กำลังเล็งสาขานี้ไว้ ต้องรีบเตรียมตัวเลยนะคะ เพราะการแข่งขันสูงขึ้นทุกปี! โดย BJM TU จะเปิดรับสมัครด้วยกันทั้งหมด 2 รอบ Inter Portfolio 1 รอบนี้จะต้องใช้ผลงานของน้อง ๆ ในการสมัคร และรอบ Inter Program Admission 1 ซึ่งรอบนี้น้อง ๆ จะต้องสอบข้อเขียน Written Exam ที่เกี่ยวกับสื่อ ซึ่งกว้างมาก ๆ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยากเข้ารอบไหน ต้องรีบเตรียมตัวให้ดี เพราะการสอบเข้า BJM TU นั้นยากมากกก และการแข่งขันสูงมาก ๆ ตั้งแต่รอบ Portfolio เลย เนื่องจากเป็นคณะดังฝั่งวารสารศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน



เกณฑ์การเข้า BJM TU ในแต่ละรอบ

น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงช่วงที่เปิดรับสมัครได้ที่ข้างล่างนี้เลยนะคะ




อยากสอบติด BJM TU ห้ามพลาด! 

ไม่ว่าจะสอบรอบ Portfolio หรือรอบ Interview 

TUTORRUS ก็ติวครบ จบ พร้อมสอบติด BJM


bjm tu เรียนที่ไหน, bjm tu ค่าเทอม, bjm tu รับสมัคร, bjm tu ใช้คะแนนอะไรบ้าง, BJM TU คือ, bjm tu ประกาศผล, bjm tu รอบ2, B.J.M. tu Portfolio, bjm admission, bjm essay, สอบ bjm, ติว bjm, เรียน bjm, bjm requirement, bjm portfolio, bjm interview, สัมภาษณ์ bjm, ติว bjm, รีวิว bjm, bjm round 1, bjm round 2, bjm thammasat, bjm มธ, วารสาร ธรรมศาสตร์, วารสาร มธ, วารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์, วารสารศาสตร์ มธ


บทความที่เกี่ยวข้อง

94 views

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page