ขึ้นชื่อว่า “รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้วอาจจะใจเต้นรัว กับความดังและความปังของคณะ ใครที่อยากสอบติด Blog นี้ห้ามพลาด พี่แน๊ต TUTORRUS จะมาเทียบกันชัด ๆ ถึงความแตกต่างระหว่างรัฐศาสตร์ภาคไทย เเละภาคอินเตอร์ พร้อมกับแนวทางการเตรียมตัวมาให้กับน้อง ๆ ใครอยากเป็นสิงห์แดง ตามไปดูกันเลย...
รัฐศาสตร์ ภาคไทย และ ภาคอินเตอร์ (BIR) เรียนไม่เหมือนกัน!
อีกหนึ่งคำถามที่น้อง ๆ สับสนกันบ๊อยยบ่อย คือ ภาคไทยกับอินเตอร์นี้
เรียนเหมือนกันรึเปล่า คำตอบก็คือ “ไม่เหมือนกันค่า”
เรามาเริ่มต้นด้วย คณะรัฐศาสตร์ภาคไทย กันก่อนเลยนะคะ อย่างที่น้อง ๆ รู้กันว่า สำหรับคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ประกอบไปด้วย 3 สาขาย่อย
สาขาการเมืองการปกครอง
ใครที่ชอบเรื่องการเมือง การปกครอง ต้องห้ามพลาด เพราะสาขานี้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายการปกครอง จิตวิทยาทางการเมือง ธุรกิจกับการเมือง การเมืองกับกฎหมาย เราจะเห็นได้ว่าที่รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เค้าขึ้นชื่อเรื่องนี้กันมาตลอดเลย แถมที่สำคัญ ชื่อของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นี้ มาจากชื่อเดิมที่ว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองอีกด้วย” เรียกได้ว่า Original ของแท้ ต้องมาสอบเข้ารัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ให้ได้ค่ะ
สาขารัฐกิจ
สาขาระหว่างประเทศ
ตรงนี้แอบกระซิบไว้นิดนึงนะคะ ว่าเราต้องเลือกสาขาเลยตั้งแต่ตอนสอบเข้า เพราะว่าชุดข้อสอบวิชาเฉพาะรัฐศาสตร์ที่เราจะได้สอบนั้น จะสอบตามสาขาที่เราได้เลือกสอบไว้ ดังนั้น น้อง ๆ ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวิชาเฉพาะไว้ด้วยนะคะ
คณะรัฐศาสตร์ (ภาคอินเตอร์) มีสาขาเดียว
จะเห็นได้ว่าภาคไทยมีถึง 3 สาขา แต่ฝั่งรัฐศาสตร์อินเตอร์อย่าง BIR ที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดนี้ มีเพียงสาขาเดียวเท่านั้น คือ สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ เเต่น้อง ๆ ที่เรียน BIR สามารถเลือกวิชาโท (Minor) ได้ในชั้นปีที่ 3 น้อง ๆ สามารถเลือกได้ 1 ใน 3 วิชานี้ค่ะ
GOV (Governance and Transnational Study)
น้อง ๆ จะได้ศึกษาเกี่ยวกับโลกาภิบาล และประเด็นข้ามชาติ ซึ่งเหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจประเด็นและข่าวรอบตัว เพราะว่าเวลาเรียนใน class อาจารย์ก็จะให้น้อง ๆ ได้ วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันค่ะ
GPE (Global Political Economy)
PA (Public Administration and Public Policy)
เเต่ละ Minor ที่จะเลือกเรียนนั้นมีความน่าสนใจมาก ๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของน้อง ๆ แต่ละคนเลยค่ะ
หลายคนอาจจะตาลุกวาว กับการเรียนที่เเตกต่างกันของรัฐศาตร์ภาคไทย และภาคอินเตอร์ เเต่อีกหนึ่งความต่างที่เห็นได้ชัดเลย คือสถานที่เรียนค่าา
รัฐศาสตร์ ภาคไทย และ ภาคอินเตอร์ เรียนคนละที่ !
ใช่ค่ะฟังไม่ผิด แม้ว่าจะอยู่คณะเดียวกัน แต่ไม่ได้เรียนที่เดียวกัน
คณะรัฐศาสตร์ (ภาคไทย) ทั้ง 3 สาขา เรียนที่ ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ในขณะที่คณะรัฐศาสตร์ (ภาคอินเตอร์) หรือ BIR จะเรียนที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ถึงแม้จะเรียนคนละที่กัน แต่กิจกรรมของทั้งภาคไทย และภาคอินเตอร์ ก็มีจัดร่วมกันอยู่ตลอดนะคะ เอาเป็นว่าใครชอบบรรยากาศแบบไหน ก็อาจจะเอาไว้เป็นตัวเลือกในการช่วยตัดสินใจก็ได้ค่ะ
รัฐศาสตร์ ภาคไทย และภาคอินเตอร์ เกณฑ์การคัดเลือกต่างกัน !
เกณฑ์คัดเลือกคณะรัฐศาสตร์ ภาคไทย
สำหรับใครที่ตั้งใจสอบเข้ารัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แนะนำว่าให้สอบแบบวิชาเฉพาะธรรมศาสตร์ไว้ เนื่องจาก
การแข่งขันน้อย (ถ้าไม่มีคะแนนสอบวิชาเฉพาะรัฐศาสตร์ ไม่สามารถยื่นรอบนี้ได้)
วิชาที่ใช้สอบ น้อยกว่า
สำคัญที่สุดคือ ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เปิดรอบวิชาเฉพาะสอบตรงรัฐศาสตร์ ดังนั้นรอบนี้เหมือนเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับคนที่มีความชอบด้านนี้โดยเฉพาะ สามารถมายื่นได้โดยเฉพาะเลยค่ะ
รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ทั้งภาคไทย และภาคอินเตอร์ ต้องสอบตรงวิชาเฉพาะรัฐศาสตร์ทั้งคู่
ดังนั้น น้อง ๆ คนไหนที่จะเลือกสอบวิชาเฉพาะต้องเตรียมตัวให้ดีเลยนะคะ
เกณฑ์คัดเลือกคณะรัฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ (BIR)
สรุปการเข้ารอบพอร์ต รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะไทยอินเตอร์
พี่ขอแนะนำให้น้อง ๆ ไปเตรียมพอร์ตให้ปังค่ะ เพราะการเเข่งขันค่อนข้างสูงเลย
สำหรับใครที่ไม่ได้ยื่นรอบพอร์ต รีบมาเตรียมสอบตรงกันเลย !
การันตี ผลงาน สอบติด BIR ด้วยคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่อยากพลาดคณะปัง ๆ อย่าง BIR อย่าลืมมาติว TU-GET กับ TUTORRUS กันนะคะ สถิติแน่น รีวิวเพียบ สอบ TU-GET ได้อย่างมั่นใจ
ถึงแม้เกณฑ์การคัดเลือกจะต่างกัน เเต่ทั้งรัฐศาสตร์ ภาคไทย และ ภาคอินเตอร์ ก็เปิดทั้งรอบ Portfolio และ Admission และยังมีรอบสอบตรงของวิชาเฉพาะรัฐศาสตร์เหมือนกันอีกด้วย
ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจจะยื่นรอบไหน วางแผนการเตรียมสอบเข้าดี ๆ นะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
Comments