Business Communication (BC) คือ โครงการการสื่อสารเชิงธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ (ภาคอินเตอร์) อยู่ภายใต้คณะศิลปศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่มาแรงในช่วงนี้ เหมาะกับน้อง ๆ ที่มีความสนใจทั้งภาษาและธุรกิจ เพราะมีหลายภาษาให้เลือกเรียน ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ไปจนถึงภาษาเกาหลีเลยค่ะ และในบล๊อกนี้พี่แน๊ตจะพาทุกคนมาเก็บเทคนิคปั้น Portfolio ให้ปัง ถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลยค่ะ
BC มีกี่สาขา?
Business Communication (BC) จะมีให้เลือกทั้งหมด 4 สาขา ดังนี้
ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (Business English Communication)
ภาษาจีนเชิงธุรกิจ (Business Chinese Communication)
ภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ (Business Japanese Communication)
ภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ (Business Korean Communication)
2 เรื่องที่ต้องรู้ ! ก่อนสมัคร BC รอบ Portfolio
น้อง ๆ คนไหนที่อยากเข้า BC TU แต่ยังไม่รู้ว่าจะเข้าสาขาไหนดี? TUTORRUS แนะนำให้น้อง ๆ ลองเช็ค 2 เรื่องด้านล่างนี้
ชอบหรือสนใจภาษาไหน
อย่างที่ทราบว่า BC TU จะมีให้เลือกทั้งหมด 4 สาขา ซึ่งหลัก ๆ จะแตกต่างกันในส่วนของภาษาที่เรียน เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเลือกว่าเราจะเข้าสาขาไหน เราต้องคุยกับตัวเองก่อนว่า เราชอบภาษาไหนหรือสนใจที่อยากศึกษาภาษาไหนเพิ่มเติมเป็นพิเศษ หลังจากได้คำตอบแล้ว ให้ไปดูข้อถัดไปได้เลยค่ะ
เกณฑ์ BC TU รอบ Portfolio (Requirements)
หลังจากที่เรารู้แล้วว่าอยากเข้าสาขาไหน ต้องรีบไปเช็คเกณฑ์ BC รอบ Portfolio (BC Requirements) กันด่วน ๆ เลย เพราะว่าเกณฑ์การสอบของ BC TU แต่ละสาขาจะไม่เหมือนกัน เพราะนอกจากกิจกรรมต่าง ๆ ใน Portfolio แล้ว จะต้องเตรียมคะแนนต่าง ๆ เพื่อใช้สมัครสอบในรอบ Portfolio ด้วยค่ะ
เกณฑ์ BC TU รอบ Portfolio
อย่างที่น้อง ๆ รู้กันแล้วว่า BC TU มีทั้งหมด 4 สาขา โดยที่แต่ละสาขาจะมีเกณฑ์สอบในรอบ Portfolio แตกต่างกันบางส่วน ใครกำลังเล็งสาขาไหนอยู่ รีบไปเช็คเกณฑ์กันเลย จะได้เตรียมตัวกันถูกนะคะ
เกรดเฉลี่ย
ในรอบ Portfolio น้อง ๆ จะต้องมีเกรดเฉลี่ย (GPAX) ของเทอม 4-6
อย่างน้อย 3.00 (จะใช้กี่เทอมขึ้นอยู่กับว่าเรามีเกรดกี่เทอมในตอนที่สมัครสอบ BC TU)
ผลการสอบภาษาอังกฤษ
ในส่วนของผลการสอบภาษาอังกฤษ น้อง ๆ จะต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งในตารางด้านล่างต่อไปนี้ และผลการสอบจะต้องไม่เกิน 2 ปีด้วยนะคะ
ผลสอบภาษาอังกฤษ | สาขาอังกฤษ | สาขาจีน | สาขาญี่ปุ่น | สาขาเกาหลี |
---|---|---|---|---|
TU-GET PBT | >= 550 | >= 500 | >= 500 | >= 500 |
TU-GET CBT | >= 70 | >= 61 | >= 61 | >= 61 |
IELTS | >= 6.5 | >= 6.0 | >= 6.0 | >= 6.0 |
SAT (Reading & Writing) | >= 400 | >= 350 | >= 350 | >= 350 |
TOEFL (iBT) | >= 80 | >= 61 | >= 61 | >= 61 |
จากตารางด้านบน น้อง ๆ จะเห็นว่าสาขาภาษาอังกฤษ จะมีเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษที่ต้องใช้แตกต่างจากสาขาอื่น ๆ โดยจะมีเกณฑ์คะแนนที่ต้องใช้สูงกว่าของอีกทั้ง 3 สาขา เพราะฉะนั้นใครที่อยากจะเข้าสาขาภาษาอังกฤษ ต้องเตรียมคะแนนให้สูงกว่า และตรงตามเกณฑ์ด้วยนะคะ
ผลการสอบภาษาที่สาม
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สมัครสอบ BC TU สาขาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ จะต้องมีคะแนนภาษาที่สามด้วย โดยที่สมัครสาขาไหน ก็ต้องใช้คะแนนภาษานั้น เช่น สมัคร BC TU Chinese ก็ต้องมีคะแนนภาษาจีนตามเกณฑ์ที่ทางคณะกำหนดด้วยค่ะ โดยที่แต่ละสาขาจะมีเกณฑ์ดังนี้ค่ะ
เกณฑ์ | สาขาจีน | สาขาญี่ปุ่น | สาขาเกาหลี |
แผนการเรียน | จบ ม.ปลาย แผนการเรียน ศิลป์-ภาษาจีน และเกรดเฉลี่ยวิชาภาษาจีน >= 3.00 | จบ ม.ปลาย แผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น และเกรดเฉลี่ยวิชาภาษาญี่ปุ่น >= 3.00 | จบ ม.ปลาย แผนการเรียน ศิลป์-ภาษาเกาหลี และเกรดเฉลี่ยวิชาภาษาเกาหลี >= 3.00 |
ผลสอบภาษาที่ 3 | HSK >= 2 | JLPT >= N4 | TOPIK >= 2 |
แต่!! ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากเข้าจริง ๆ แล้วไม่ได้เรียนแผนศิลป์-ภาษานั้น ๆ มา อีกทั้งไม่มีคะแนนการสอบวัดระดับภาษาที่ 3 ด้วย น้อง ๆ จะต้องมีผลการเรียนที่โดดเด่นในภาษานั้น ๆ แทน และควรใส่ผลงาน-รางวัลที่เกี่ยวกับภาษาที่ 3 แทนค่ะ
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ในการสอบ BC TU รอบ Portfolio ทางโครงการจะระบุว่าให้ใส่ผลงานและกิจกรรมด้านวิชาการ แต่ถ้าใครไม่มี TUTORRUS แนะนำให้เพิ่มกิจกรรมและผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะและสาขาเข้าไปด้วยค่ะ
Statement of Purpose (SOP)
SOP เป็นอีก 1 สิ่งที่สำคัญมากที่ห้ามมองผ่านเด็ดขาด เพราะ SOP จะช่วยเสริมให้เนื้อหาใน Portfolio ของเราน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปในหลายคณะที่เปิดสอบในรอบ Portfolio จะไม่ได้กำหนดว่าต้องมี SOP แต่ใน BC TU รอบ Portfolio ระบุมาชัดเจนเลยว่าจะต้องมี SOP ด้วย แสดงว่ากรรมการจะอ่าน SOP ของเราประกอบกับ Portfolio แน่นอน
BC Portfolio มีข้อกำหนดอะไรบ้าง?
รูปแบบ
รอบ Inter-Portfolio หรือรอบ Portfolio ของ BC TU น้อง ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำ Portfolio 10 หน้า เพราะทาง BC TU จะมี Template มาให้น้อง ๆ กรอกข้อมูลลงไปเลยค่ะ เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทำดีไซน์ให้ยุ่งยากเลยค่ะ
จำนวนหน้า
นอกจากจะมี Template แล้ว ทาง BC TU จะระบุมาให้เพิ่มเติมด้วยว่า ใน Portfolio ที่จะยื่นนี้ ต้องไม่เกิน 4 หน้า โดยที่จะต้องประกอบไปด้วย 3 อย่างนี้
ประวัติส่วนตัว 1 หน้า
SOP 1 หน้า
Awards/Certificates ไม่เกิน 2 หน้า
เทคนิคการทำ Portfolio
ประวัติส่วนตัว
ในหน้าประวัติส่วนตัวนี้ เราจะต้องเขียนประวัติของเรา เช่น ชื่อ อายุ โรงเรียน ฯลฯ เพื่อบอกให้กรรมการรู้ว่าเราคือใคร โดยที่หน้านี้ควรที่จะแนบรูปด้วยนะคะ
Statement of Purpose (SOP)
SOP เป็นสิ่งที่สำคัญมาก อยากให้น้อง ๆ ตั้งใจเขียน เพราะนอกจากผลงานจะดีแล้ว แต่ถ้าเขียน SOP ไม่ดีก็มีโอกาสไม่ติดสูงมาก โดยที่ SOP ควรจะสื่อให้ทางคณะรู้ได้ว่า ทำไมเราอยากเข้าที่นี่ และทำไมเราถึงเหมาะกับคณะนี้ ซึ่งก่อนจะเขียน แนะนำให้ทำลิสต์ออกมาก่อนว่าจะเขียนอะไร และค่อย ๆ เรียบเรียงเนื้อหาให้อ่านเข้าใจได้ง่ายและสอดคล้องกัน หลังจากนั้นให้ตรวจทานเรื่อง Vocab และ Grammar อีกครั้งก่อนส่งจริงค่ะ
ผลงาน/รางวัล (Awards/Certificates)
ผลงานใน Portfolio มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะผลงานที่โดดเด่นก็จะสามารถช่วยเพิ่มคะแนนให้น้อง ๆ ได้ โดยที่ผลงาน รางวัล เกียรติบัตร ค่าย และจิตอาสา ควรที่จะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับคณะ
ผลงานที่ควรใส่ใน Portfolio
1) Business and Management Skills
ผลงานที่แสดงความสามารถของน้อง ๆ ในด้านการจัดการและธุรกิจ
2) Language and Culture
ผลงานที่แสดงทักษะภาษาและกิจกรรมด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ
3) Green Living and Sustainability
ผลงานที่แสดงถึงการอนุรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม
4) The World of Digital Communication and Technology
ผลงานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่น้อง ๆ มีโอกาสได้ประดิษฐ์หรือได้เข้าร่วม
ตอนนี้น้อง ๆ น่าจะเข้าใจและรู้เรื่องเกณฑ์การสอบเข้า BC TU ในรอบ Portfolio กันครบถ้วนแล้ว ใครอยากเข้า BC TU ในรอบนี้แล้ว ห้ามพลาดกับคอร์สดี ๆ ที่ TUTORRUS นะคะ 🧡
สอบถามคอร์สเรียน
SCAN QR CODE นี้ได้เลยนะคะ
Comments